โรคสายตาขี้เกียจ หรือ Lazy Eyes
มักเกิดขึ้นเมื่อมีแสงเข้าสู่ดวงตาข้างใดข้างหนึ่งน้อยกว่าที่ควรจะเป็นซึ่งส่งผลให้คุณภาพความคมชัดที่เด็กสามารถเห็นได้เมื่อตาข้างหนึ่งมองเห็นคมชัดน้อยกว่าอีกข้างหนึ่งเป็นเวลานานๆสมองของเด็กอาจทำการระงับการพัฒนาการของดวงตาข้างนั้นไปเพื่อทำการรับจากดวงตาข้างที่ดีกว่าเพียงข้างเดียวสายตาขี้เกียจมักเกิดในเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6-7 ปีหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลาจะทำให้ตามัวการมองเห็นลดลงอย่างถาวร
สาเหตุของสายตาขี้เกียจ
- การทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวดวงตาทำงานไม่สมดุลกัน
- การเบี่ยงเบนสายตามาใช้ตาเพียงข้างใดข้างหนึ่ง เช่น มีการติดเชื้อบริเวณตาข้างขวา ทำให้ใช้เพียงตาข้างซ้ายในการมองเห็น
- มีสายตายาวสั้นเอียงทั้ง 2 ข้างมากเกินไปหรือไม่เท่ากันทั้งสองข้าง
- ความบกพร่องของอวัยวะรับภาพหรือแปลผลภาพ เช่น เส้นประสาทตาฝ่อ แผลบริเวณจุดรับภาพในจอตาและการเสียหายของสมองส่วนที่แปลจากการขาดออกซิเจน
วิธีรักษาโรคสายตาขี้เกียจ
- การรักษาด้วยการผ่าตัด กรณีที่สามารถทำการผ่าตัดเพื่อรักษาได้เช่นผ่าตัดต้อกระจก เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา หนังตาตก ควรได้รับการผ่าตัดก่อน จากนั้นจึงค่อยรับการทำการพัฒนาการมองเห็น โดยการปิดตาข้างที่ดีกว่าเพื่อกระตุ้นให้ดวงตาอีกข้างที่ด้อยกว่าได้ถูกใช้งานบ้าง
- การรักษาโดยการใช้แว่นตา ในกรณีที่สายตาขี้เกียจจากปัญหาความผิดปกติทางสายตา จะเริ่มโดยการใช้แว่นสายตาก่อน เด็กเริ่มมองเห็นชัดจากการใช้แว่น ก็ถือเป็นการกระตุ้นพัฒนาการในการมองเห็นได้
- การรักษาในกรณีที่มีการหรือเริ่มมีอาการตาขี้เกียจแล้ว จะกระตุ้นโดยการปิดตาข้างที่ดี เพื่อให้ตาอีกข้างได้รับการใช้งาน เพิ่มความปิดอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง จนกว่าสายตาทั้งสองข้างสมองปกติ แต่ละรายอาจจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
แต่ละโรคต่างมีสาเหตุและวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน อย่างไรก้อดีเราสามารถดูแลรักษาสุขภาพตาของเราได้ไม่ยากเพียง
- หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
- ระวังไม่ปล่อยให้สิ่งแปลกปลอมเข้าดวงตา
- สวมใส่แว่นตากันแดด
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่นควันเยอะ
- ตรวจสอบประวัติคนในครอบครัวว่ามีใครเป็นโรคตาหรือไม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคต้อหินและโรคจอประสาทตาที่สำคัญ หากมีข้อสงสัยหรือเกิดอาการผิดปกติใดๆ เกี่ยวกับดวงตา ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และอย่าลืมตรวจสุขภาพตาเป็นประจำหรือตามที่จักษุแพทย์แนะนำ