ต้อหิน (Glaucoma) เป็นสาเหตุอันดับแรกๆ ที่ทำให้คนไทยเกิดภาวะตาบอดรองจากต้อกระจก (Cataract) มักเกิดจากความดันในลูกตาสูงผิดปกติจนเส้นประสาทตาเสียหายได้ แต่หากเราสังเกตเรื่องของสายตากันอยู่บ้างก็สามารถตรวจและรักษาต้อหินก่อนได้
“ต้อหิน” คืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง ?
ต้อหินเป็นกลุ่มโรคที่มีความเสื่อมของขั้วประสาทตาอย่างต่อเนื่อง โดยระยะเริ่มต้นจะส่งผลให้การมองเห็นในส่วนของลานสายตา ซึ่งเป็นพื้นที่ทั้งหมดที่ตาเราสามารถมองเห็นได้ทั้งหมดเสียหายไป เช่น การมองเห็นแคบลงเรื่อยๆ และการมองเห็นในส่วนของความคมชัดลดลงจนมองไม่เห็นในที่สุด
ต้อหินเกิดจากอะไร ใครเสี่ยงเป็นต้อหินบ้าง ?
|
รู้จักต้อหิน 3 ชนิด มีอะไรบ้าง ?
- ต้อหินชนิดปฐมภูมิ (Primary glaucoma) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเอง เกิดจากความเสื่อมตามอายุ ทำให้การมองเห็นค่อยๆ แย่ลงเรื่อยๆ
- ต้อหินชนิดทุติยภูมิ (Secondary glaucoma) คือต้อหินที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุบริเวณรอบดวงตา การใช้ยาสเตียรอยด์ เบาหวานขึ้นจอตา การอักเสบภายในลูกตา เป็นต้น
- ต้อหินแต่กำเนิด (Congenital glaucoma) โรคต้อหินที่พบได้ในเด็กเล็ก ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรมหรือการติดเชื้อแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ของมารดา เช่น หัดเยอรมัน โดยเด็กจะไม่สามารถลืมตาสู้แสงได้ ทำให้เด็กไม่ยอมลืมตา มีน้ำตาไหล และมีลูกตาดำใหญ่กว่าปกติ
ผ่าตัดต้อหินด้วยเลเซอร์ วิธีรักษาช่วยชะลอการลุกลามของโรค
- เครื่องเลเซอร์ชนิด YAG Laser สามารถใช้ทำ Iridotomy (รูเปิดขนาดเล็กที่ม่านตา) เพื่อช่วยในการป้องกันและรักษาต้อหินแบบมุมปิด โดยใช้เลเซอร์ยิงเพื่อช่วยให้น้ำในลูกตาระบายได้ดีขึ้น (Yag laser peripheral iridotomy) และสำหรับหลังการผ่าตัดต้อกระจกคือเลเซอร์ขัดเยื่อถุงหุ้มเลนส์ (Yag laser capsulotomy) ในผู้ป่วยถุงหุ้มเลนส์ขุ่นซึ่งทำเสร็จก็สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ
- เครื่องเลเซอร์ชนิด Argon laser เพื่อรักษาโรคต่างๆ ทางจอประสาทตาและต้อหิน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา รอยฉีกขาดที่จอประสาทตา และจอประสาทตาบวม
ก่อนการรักษา : จักษุแพทย์จะประเมินก่อนทุกครั้ง ว่าผู้ป่วยสามารถใช้วิธีการรักษาด้วยการยิงเลเซอร์ได้หรือไม่
หลังการรักษา : แพทย์จะให้นอนพักเพื่อติดตามอาการเพียง 30 นาที หลังจากนั้นผู้ป่วยสามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน และสามารถล้างหน้าได้ตามปกติ
แม้ต้อหินจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากคนไข้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที ก็เท่ากับเป็นการยับยั้งการลุกลามของโรคได้นั่นเอง
ขอขอบคุณบทความจาก
แพทย์หญิงอัญชลี เดชาวรานุภาพ
สาขา: จักษุวิทยา