ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ทางเลือกที่ปลอดภัย
ความจ้ำม่ำที่มากเกินพอดีกลายเป็นความอ้วนที่มาพร้อมความเสี่ยงโรคมากมาย เชื่อว่าคนอ้วนส่วนใหญ่ต้องเคยค้นหาแนวทางการลดน้ำหนัก และลงมือปฏิบัติมาแล้วสารพัดวิธี ทั้งการควบคุมปริมาณอาหาร เลือกรับประทาน ออกกำลังกาย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ได้ผลลัพธ์อันน่าพึงพอใจ ‘การผ่าตัดกระเพาะอาหาร’ จึงเข้ามาเป็นทางเลือกในการลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน เพราะเห็นผลได้ชัดเจน มีโอกาสกลับมาอ้วนซ้ำได้ยากกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แถมยังช่วยลดความรุนแรง ลดโอกาสเกิดโรคร้ายแรงอื่นๆ และได้รับการยอมรับในระดับสากล
การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก คืออะไร
การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Bariatric surgery) หรือผ่าตัดกระเพาะ ลดความอ้วนเปรียบเสมือนทางด่วนสู่การมีสุขภาพดีแบบองค์รวม โดยใช้วิธีการส่องกล้องซึ่งไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะเป็นการผ่าตัดกระเพาะส่วนที่ขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 80 ของขนาดกระเพาะทั้งหมดออกไป ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง รวมถึงช่วยตัดกระเพาะอาหารในส่วนที่สร้างฮอร์โมนแห่งความหิวออกไปด้วย คนไข้จะมีรอยแผลบริเวณหน้าท้องเท่ารูเข็ม เจ็บตัวไม่มาก ปลอดภัย ฟื้นตัวไว ใช้เวลาไม่นานรอยแผลก็จางหาย และผลลัพธ์ที่ได้คือน้ำหนักลดลงไปอย่างยั่งยืน
แม้การผ่าตัดกระเพาะอาหารจะถูกจัดเป็นศัลยกรรมประเภทหนึ่งที่ใช้รักษาโรคอ้วน แต่ขณะเดียวกันยังเป็นการ ขจัดโรคต่างๆ ที่เกิดจากความอ้วนไปในคราวเดียว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ปัญหาไขข้อ ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นต้น รวมถึงแก้ปัญหาด้านบุคลิกภาพ เป็นความหวังให้คนไข้กลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างคล่องแคล่วมั่นใจ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีผู้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดกระเพาะ ลดความอ้วนเพิ่มขึ้นทุกปีในหลายประเทศ และมีกว่า 2 แสนเคสในปีที่ผ่านมา
คำถามยอดฮิต เกี่ยวกับการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
1. อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถผ่าตัดได้หรือไม่ ต้องอ้วนมากแค่ไหนก่อนผ่าตัด?
ไม่ใช่เพียงเพราะถูกทักว่าอ้วนแล้วจะสามารถเข้ารับการผ่าตัดกระเพราะลดน้ำหนักได้ แต่ต้องคำนวณจากดัชนีมวลกายที่มากกว่า 32.5 ขึ้นไป และมีโรคประจำตัวอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับความอ้วน อย่าง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไขมันพอกตับ นอนกรน ฯลฯ แต่หากตรวจไม่พบโรคอื่นๆ จำเป็นต้องมีค่าดัชนีมวลกายที่ 37.5 ขึ้นไป รวมถึงต้องผ่านความพยายามในการลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นมาก่อนแต่ไม่สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร จึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถทำการผ่าตัดกระเพาะอาหารได้ หรือในกรณีอื่น ๆ สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เช่นกัน
ลองคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย(Body Mas Index) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า การวัดค่า BMI โดยคำนวณจากการนำน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง เช่น หนัก 100 กิโลกรัม สูง 160 เซนติเมตร ค่า IBM คำนวนได้ คือ (100 / (1.6 x 1.6)) จะได้ BMI = 39.06 กก./ ตร.ม. หรือ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการคำนวณ BMI คลิก
BMI > 32.5 แล้วเริ่มมีความเสี่ยง ถือว่าเริ่มมีข้อบ่งชี้ ควรพิจารณาเรื่องการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
2. ผ่าตัดแล้วน้ำหนักลดจริงไหม?
สำหรับน้ำหนักโดยเฉลี่ยที่หายไปหลังจากผ่าตัดกระเพาะแล้ว สิ้นเดือนที่ 1 น้ำหนักจะหายไปประมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนักตั้งต้น หากน้ำหนักตั้งต้นเริ่มที่ประมาณ 100 กิโลกรัม เดือนแรกอาจลดลงเหลือเพียง 90 กิโลกรัมเลยทีเดียว เมื่อไปถึงเดือนที่ 3 หลังการผ่าตัดน้ำหนักที่หายไปจะอยู่ที่ร้อยละ 20 ของน้ำหนักตั้งต้น และลดลงได้ถึงร้อยละ 30 เมื่อเข้าสู่สิ้นเดือนที่ 6 หลังการผ่าตัด คนไข้จึงเหลือน้ำหนักอยู่ที่ 70 กิโลกรัม เท่านั้น นี่เป็นเกณฑ์ของคนไข้ที่ทำการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อรักษาโรคอ้วนและทำตามคำแนะนำหลังผ่าตัด และจะลดน้ำหนักลงได้เยอะขึ้นหากทำควบคู่กับการออกกำลังกาย
3. ผ่าตัดกระเพาะแต่ละวิธีแตกต่างกันอย่างไร?
การผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารมี 3 วิธีดังนี้
1. การผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve gastrectomy: SG) เป็นการตัดกระเพาะอาหารออกราว 75–80% จนเหลือปริมาณความจุประมาณ 150 ซีซี และตัดกระเพาะอาหารส่วนยอด (Fundus) ซึ่งทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนหิวที่ชื่อเกรลิน (Ghrelin) ออกไปด้วย ก่อนจะเย็บกระเพาะอาหารให้มีรูปทรงเป็นท่อทรงยาว ผลลัพธ์ที่ได้คือคนไข้สามารถลดน้ำหนักส่วนที่เกินได้มากถึงร้อยละ 60 ในระยะเวลา 1 ปี ไม่กระทบต่อการดูดซึมแคลอรี่และสารอาหารในลำไส้ หากมีอาการเจ็บป่วยบริเวณกระเพาะเกิดขึ้นในอนาคตสามารถส่องกล้องเข้าไปดูส่วนที่เหลือได้ วิธีนี้จึงเป็นที่นิยมในการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักมากที่สุด
2. การผ่าตัดแบบบายพาส (Roux-en-Y gastric bypass: RYGB) คือการผ่าตัดแบ่งกระเพาะอาหารส่วนบนให้มีลักษณะเป็นกระเปาะขนาดเล็ก ประมาณ 30 ซีซี และยกลำไส้เล็กส่วนกลางให้มาเชื่อมต่อกัน เพื่อเบี่ยงทางเดินอาหารใหม่ให้เป็นรูปทรง Y ซึ่งช่วยลดปริมาณอาหารที่ต้องผ่านกระเพาะและลำไส้เล็กส่วนต้น ผลลัพธ์ที่ได้คล้ายการผ่าตัดแบบสลีฟ ซึ่งเหมาะกับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานรุนแรง หรือมีภาวะกรดไหลย้อน แต่ในอนาคตหากมีอาการป่วยในกระเพาะจะไม่สามารถส่องกล้องดูกระเพาะส่วนที่เหลือได้ และพบโอกาสเกิดภาวะขาดวิตามิน แร่ธาตุได้มากกว่าการผ่าตัดแบบสลีฟ
3. การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหาร (Endoscopic sleeve gastroplasty: ESG) จัดเป็นเทคนิคใหม่ล่าสุดในประเทศไทย โดยการสอดกล้องและเครื่องมือผ่านช่องปากคนไข้ขณะหลับ เพื่อทำการผ่าตัดเย็บกระเพาะอาหารให้มีขนาดเล็ก โดยไม่ได้มีการตัดเนื้อกระเพาะส่วนใดออก ไม่มีแผลผ่าตัดภายนอกหน้าท้อง เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว แต่กระเพาะอาหารส่วนยอดและฮอร์โมนแห่งความหิวยังคงอยู่เช่นเดิม จึงมีโอกาสที่น้ำหนักจะกลับมาเพิ่มมากขึ้นอีกหลังผ่านไปแล้ว 2 ปี
4. การผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักอันตรายหรือไม่?
แม้การผ่าตัดจะฟังดูเป็นเรื่องใหญ่ หลายคนกลัวการเอามีดผ่าเปิดท้องเป็นแนวยาว และกังวลเรื่องแผลเป็นหลังผ่าตัด แต่การผ่าตัดกระเพาะด้วยการส่องกล้อง Laparoscope จะมีแผลผ่าตัดภายนอกขนาดเท่ารูเข็มเพียง 3 แผลเท่านั้นไม่ว่าคนไข้จะตัวเล็กหรือตัวใหญ่เพียงใดก็ตาม ส่วนแผลด้านในแพทย์จะยึดหลักความแน่นหนาของแผลภายใน โดยใช้อุปกรณ์เย็บแผลอัตโนมัติแบบล็อค 3 ชั้น และเพิ่มด้วยแผ่นเสริมความแข็งแรง ลดโอกาสเสี่ยงการเกิดรอยรั่วจากการเย็บแผลในกระเพาะ และลดโอกาสในการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี ปลอดภัยกว่าเมื่อเทียบกับการตัดกระเพาะในแบบอื่นๆ
5. ผ่าตัดกระเพาะมีผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดอย่างไร?
ภาวะแทรกซ้อนอาจเพิ่มขึ้น หรือเกิดขึ้นได้ตามแต่อายุและโรคประจำตัวของผู้ป่วย หลังการผ่าตัดแล้วพื้นที่ในกระเพาะของคนไข้จะลดลงอย่างชัดเจน โดยเฉลี่ยจะสามารถทานอาหารได้ประมาณ 120 ซีซี เท่านั้น ร่างกายจึงไม่สามารถกักเก็บอาหารไว้เพื่อดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่ จำเป็นต้องเสริมวิตามิน โปรตีน และแร่ธาตุบางชนิด เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานของร่างกาย โดยแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
6. ผ่าตัดแล้วจะกลับมาอ้วนอีกไหม?
เมื่อน้ำหนักลดลงมาถึงจุดต่ำสุดแล้ว อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อยตามปัจจัยทางด้านอายุและพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่เป็นเรื่องยากมากที่น้ำหนักจะกลับไปอยู่ในเกณฑ์อ้วนตามค่า BMI ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเคร่งครัดในการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายของคนไข้ จึงจำเป็นต้องมีทีมนักโภชนาการคอยช่วยดูแลหลังผ่าตัดไปตลอดเวลา 1 ปี และปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารในระยะยาว
เพราะเราทุกคนล้วนอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่มีโรคภัย การผ่าตัดกระเพาะอาหารมีข้อดีมากมายในแง่การรักษาโรคอ้วน ก่อนตัดสินใจควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อสอบถามทุกประเด็นเกี่ยวกับการผ่าตัดที่สงสัย เพื่อรับคำแนะนำ ในการดูแลทั้งก่อนและหลังผ่าตัด เพื่อให้มั่นใจว่าการผ่าตัดนี้จะได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมและน่าพึงพอใจ
ทำไมต้องผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักกับ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ?
- เพราะที่นี่ ผ่าตัดโดย พญ. ขวัญนรา เกตุวงศ์ ศัลยแพทย์เชี่ยวชาญผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก&ผ่าตัดลดน้ำหนัก
- ประหยัดเวลาตรวจครบจบในวันเดียว ดำเนินการผ่าตัดที่โรงพยาบาล มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย
- แพทย์และทีมแอดมินดูแลตั้งแต่ต้นจนจบ การันตีคุณภาพ 30 ราย/เดือน
- ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักสำเร็จทุกเคส ไม่มีปัญหาหลังผ่าตัด
- หลังผ่าตัดมีทีมแพทย์และสหวิชาชีพ ติดตามผล คอยให้คำแนะนำผู้ป่วยในทุกด้านตลอด 1 ปีเต็ม
- มีการทดสอบความเสี่ยงทั้งก่อนและหลังผ่าตัด โดยแพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขา มั่นใจได้ว่า ปลอดภัย ไร้กังวล
ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก โดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่าตัดผ่านกล้องกระเพาะลดความอ้วน ด้วยเทคนิคใหม่ที่ให้แผลเล็ก ปลอดภัย ไร้กังวล คับคั่งด้วยทีมสหวิชาชีพที่พร้อมดูแลหลังการผ่าตัดและโภชนาการตลอด 1 ปี ด้วยมาตรฐานระดับสากล