การส่งเสริมพัฒนาการและการเล่นในเด็ก & โรคสมาธิสั้น
การส่งเสริมพัฒนาการ( Developmental promotion )
เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ เริ่มได้ตั้งแต่วัยทารก ให้การส่งเสริมพัฒนาการอย่างต่อเนื่องทุกช่วงวัยโดยอาศัยความรู้และความเข้าใจในพัฒนาการปกติของเด็กการตรวจประเมินพัฒนาการ ( Developmental surveillance and screening )
ถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามคำแนะนำของ AAP (American Academy of Pediatrics) ควรตรวจประเมินพัฒนาการอย่างน้อย 3 ครั้ง ที่ช่วงอายุ 9, 18 และ 24 หรือ 30 เดือน ตามแบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก (Denver II developmental assessment)
เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นนั้น ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ผ่านการเล่นของเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัย จะเป็นสื่อกลางที่ส่งเสริมให้เกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆที่จะเป็นพื้นฐานของพัฒนาการที่เต็มศักยภาพ และยังช่วยพัฒนาสมองส่วนหน้าและทักษะขั้นสูงเพื่อความสำเร็จ (EF)
การเล่นก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา รู้จักการรอคอยและแบ่งปัน ช่วยส่งเสริมสมาธิและการกำกับตนเอง การควบคุมอารมณ์ การคิดวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่น
การเล่นในแต่ละช่วงวัย
ช่วงอายุ 1-2 ปี
ตัวอย่างกิจกรรม |
จุดมุ่งหมาย |
ให้จูงลากของหรือเข็นรถเข็นเล็กๆ |
พัฒนาทักษะการทรงตัวและการเคลื่อนไหว รวมทั้งการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ |
ร้องเพลงกล่อมหรือท่องบทกลอนให้เด็กฟังหรือเพลงที่ใช้ภาษาซ้ำๆ เช่น กาเอ๋ยกา จันทร์เจ้าขา เป็นต้น |
พัฒนาความเข้าใจภาษา |
บทบาทสมมติเบื้องต้นกับตุ๊กตาหุ่นกระบอก เล่นตุ๊กตาหุ่นแสร้งให้ตุ๊กตาพูดคุยกับเด็กและให้เด็กสนใจหรือส่งเสียงตอบสนอง |
-พัฒนาทักษะทางสังคม -ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้อื่น |
สมุดรูปภาพ พยายามกระตุ้นให้เด็กออกเสียงตามเมื่อเอ่ยชื่อ หรือชี้ชวนให้ดู |
ทำให้รู้คำศัพท์มากขึ้น ฝึกจินตนาการ เพิ่มปฏิสัมพันธ์ |
หนังสือ Pop up |
กระตุ้นสัมผัสกับสิ่งสัมผัสที่หลากหลาย |
เล่นลูกบอล กลิ้งลูกบอลไปให้เด็กกลิ้งกลับมา |
ให้เด็กฝึกการกะระยะของพื้นที่กับมิติ ฝึกการใช้มือและตาให้ทำงานร่วมกัน |
ของเล่นไขลาน การเล่นในสนามเด็กเล่น พูดให้เด็กฟังในสิ่งที่พบเห็น อาจเปิดโอกาสให้เล่นดิน เล่นทราย |
ฝึกการเคลื่อนไหวมือที่สลับข้างได้ดีขึ้น รับรู้เรื่องราว เกิดทักษะภาษา ฝึกความจำ |
บล็อกไม้ ให้เด็กหัดวางซ้อนกัน โดยทำให้ดูเป็นตัวอย่าง |
ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก |
ร้องเพลงหัดเดินตามจังหวะ เพลงสอนให้รู้จักอวัยวะ เช่น ร่างกายของฉัน 4-6 ส่วน |
เรียนรู้ในทิศทางและการเคลื่อนไหว สนุกสนานที่ได้เล่นกับผู้อื่น ฝึกการรอคอย |
เล่นเกม ตบแผละ |
สร้างจินตนาการ กล้ามเนื้อมือแข็งแรงขึ้น การใช้ตาทำงานร่วมกันดีขึ้น |
ช่วงอายุ 2-3 ปี
ตัวอย่างกิจกรรม |
จุดมุ่งหมาย |
ภาพต่อตัวต่อเป็นรูปทรงง่ายๆ ต่อบล็อกไม้ 2-3 แท่งเป็นรูปรถไฟ / ช้อนบล็อก 8-7 แท่ง |
-ฝึกการทำงานของตาและมือในการแก้ปัญหา -ฝึกสังเกต |
ฝึกขีดเขียนจากกระดาษและดินสอ เป็นรูป เส้นตรง วงกลม |
|
หนังสือภาพ สอนเรื่องสี จับคู่ภาพเหมือน บอกชื่อภาพสัตว์ได้ |
-ฝึกการสังเกต -ฝึกความเข้าใจเหตุผลที่ไม่ซับซ้อน |
หัดร้องเพลงง่ายๆ เช่น เพลงช้าง |
ฝึกทักษะทางภาษาและสังคม |
เล่นสมมุติ เล่นป้อนตุ๊กตา |
ฝึกการปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม |
พูดคุยและตอบคำถามเด็กอย่างตรงไปตรงมา ด้วยท่าทีที่สนใจ |
ฝึกทักษาทางภาษา |
ถีบจักรยาน 3 ล้อ |
ฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น การทำงานอย่างประสานกันดีและช่วยให้เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว |
เริ่มเล่นรวมกลุ่มกับเด็กอื่นๆ เช่น ไล่จับ ริรีข้าวสาร แม่งู จ้ำจี้-มะเขือเปราะ เป็นต้น |
ฝึกให้คิดอย่างมีขั้นตอน ใช้มือกับสายตาประสานกันดี |
เล่นในสนามเด็กเล่นที่ฝึกปืนป่าน ลื่นไถล โดยผู้ปกตรองดูแลอย่างใกล้ชิด |
อุปกรณ์การเล่นจะช่วยให้เข้าใจเหตุและผลที่ตามมา ฝึกทักษะการใช้มือได้เก่งขึ้น สายตากับมือทำงานประสานกันได้ดีขึ้น เพราะได้ใช้ข้อมือหมุนฝึกให้กล้ามเนื้อแข็งแรง |
เกมโดมิโนที่มีรูปทรงหลายแบบ |
ช่วงอายุ 3-5 ปี
ตัวอย่างกิจกรรม |
จุดมุ่งหมาย |
ดูหนังสือและหัดเล่าเรื่องจากภาพ |
ฝึกทักษะทางภาษา |
วาดภาพและต่อภาพตัวต่อที่ซับซ้อนขึ้นตามจินตนาการของเด็ก |
ฝึกรวมขบวนการคิดและจิตนาการ |
ให้เล่นบทบาทสมมติร่วมกับคนอื่น เช่น เล่น ขายของหม้อข้าวหม้อแกง เล่นหมอกับคนไข้ เป็นต้น |
ฝึกการเข้าสังคมและอยู่ร่วมกันผู้อื่นอย่างมีความสุข |
เปิดโอกาสให้ได้ทำงานบ้านง่ายๆเลียนแบบผู้ใหญ่ |
|
เกมที่มีกฎเกณฑ์ กติกาและแบ่งหน้าที่ชัดเจน เช่น เล่นซ่อนหา เล่นขี่ม้าก้านกล้วย เดินกะลา กระต่ายขาเดียว เป็นต้น |
พัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และการทรงตัวให้มีการทำงานอย่างสมดุล |
ข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครอง (Parental Guidry)
- ไม่แนะนำให้เด็กอายุน้อยว่า 3 ปี ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทุกชนิด ( แอพพลิเคชั่นต่างๆแนะนำไม่ควรดูในเด็กที่อายุ < 2 ปี)
- ไม่แนะนำให้เด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี ใช้อินเตอร์เน็ต
- ไม่แนะนำให้เด็กอายุ < 13 ปี ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวันในวันธรรมดา และ 2 ชม. เว้นในวันหยุด เสาร์ อาทิตย์
- ผู้ปกครองควรร่วมกันกับเด็กในการกำหนดกติกาการใช้อินเตอร์เน็ตและติดตามควบคุมให้เป็นตามข้อตกลงอย่างเหมาะสมโดย ควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก
โรคสมาธิสั้นคืออะไร?
โรคสมาธิสั้น คือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก (ก่อนอายุ 7 ขวบ) ที่เกิดจากความผิดปกติของสมองซึ่งมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก กลุ่มอาการนี้ประกอบด้วย
- อาการขาดสมาธิ (attention deficit)
- อาการหุนหันพลันแล่น วู่วาม (impulsivity)
- อาการซน อยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity)
เด็กสมาธิสั้นจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่รักษา ?
เด็กเล็ก: ปัญหาพฤติกรรม ซนอยู่ไม่นิ่ง
เด็กประถม: ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาการเรียน ปัญหาการเรียน ปัญหาการเข้ากับเพื่อน อาจจะเล่นกับเพื่อนแรงๆ ใจร้อน มองตัวเองไม่ดี
เด็กมัธยม: ปัญหาการเรียน ปัญหาการเข้ากับเพื่อน ขาดความภูมิใจในตัวเอง ทำผิดกฎระเบียบ มีพฤติกรรมเสี่ยง
อุดมศึกษา: บางคนไม่ได้เรียนต่อ/ เรียนไม่จบ สอบไม่ได้ในคณะที่ต้องการ สอบตกบ่อยๆ ขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง มีปัญหาอารมณ์ ใช้ยาเสพติด มีอุบัติเหตุ (เช่น ขับรถเร็ว ไม่ระวัง ใจร้อน)
ผู้ใหญ่: มีปัญหาเมื่อไปทำงาน ขาดความภูมิใจในตัวเอง มีปัญหาอารมณ์ ใช้ยาเสพติด มีอุบัติเหตุ (เช่น ขับรถเร็ว)