สาเหตุการคลอดก่อนกำหนด

article-สาเหตุการคลอดก่อนกำหนด

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม 2567

นพ.ชัยสิทธิ์ จริยะพร

5.00

สาเหตุการคลอดก่อนกำหนด

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการคลอดก่อนกำหนด แต่พบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่มีความสัมพันธ์กับการชักนำให้กล้ามเนื้อมดลูกของคุณแม่มีการหดรัดตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนทำให้เกิดการคลอดทารกก่อนเวลาอันควร ได้แก่

  • อายุคุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือมีอายุมากว่า 34 ปีขึ้น จะมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดมากกว่าผู้ที่มีอายุ 18-34 ปี
  • คุณแม่ที่ผอมมากๆจะมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดมากกว่าคุณแม่ที่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์
  • คุณแม่เคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนดมาก่อน ครรภ์ต่อมาของคุณแม่ก็มักจะมีการคลอดก่อนกำหนดเช่นกัน
  • ความเครียด โดยเฉพาะความเครียดในชีวิตประจำวัน อย่างเรื่องความบาดหมางในครอบครัว เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด
  • การดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทารกจะเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์และอาจคลอดก่อนกำหนดได้
  • การสูบบุหรี่ แม้ว่าคุณแม่จะไม่ได้เป็นผู้สูบบุหรี่เองก็ตาม
  • การใช้สารเสพติด เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน จะทำให้ทารกเกิดการขาดออกซิเจนและเสียชีวิตในครรภ์ด้วย
  • การรับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อการหดรัดตัวของมดลูก รวมถึงการได้รับสารพิษหรือสารเคมีบางอย่าง
  • สภาพการทำงาน ในกรณีที่คุณแม่ต้องทำงานหนักหรือต้องแบกหามตลอดทั้งวัน
  • เกิดอุบัติเหตุในขณะตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์ถูกกระทบกระแทกอย่างแรง รวมถึงการทำกิจกรรมหนักๆ จนครรภ์ได้รับการกระทบกระเทือน
  • การมีเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ อาจเป็นสาเหตุทำให้มดลูกบีบตัวได้
  • การไม่ไปฝากครรภ์ อาจทำให้คุณแม่ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพและได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
  • คุณแม่มีโรคอื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ครรภ์เป็นพิษ ฯลฯ
  • เลือดออกในขณะตั้งครรภ์ เป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนให้รู้ว่าอาจจะเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์และต่อคุณแม่ได้ เช่น อาจเกิดการแท้งบุตร รกเกาะขวางทางคลอด หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด
  • การติดเชื้อ คุณแม่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรงในร่างกาย เช่น การติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ การติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะหรือของไต เป็นต้น
  • มดลูกผิดปกติ เช่น การตั้งครรภ์แฝด มีเนื้องอกมดลูก ปากมดลูกไม่แข็งตัว การที่ปากมดลูกขยายตัวก่อนครบกำหนดจะทำให้ทารกคลอดออกมา
  • สาเหตุอื่น ๆ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอดหลังจากตั้งครรภ์ไปแล้ว 16 สัปดาห์, รกลอกตัวก่อนกำหนด, รกฝังตัวผิดปกติ, มีน้ำคร่ำปริมาณมากหรือน้อยเกินไป, ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน, มีห่วงคุมกำเนิดอยู่ในมดลูก, ทารกเจริญเติบโตช้าหรือเสียชีวิตในครรภ์, คุณแม่มีภาวะทุพโภชนาการก่อนและขณะที่ตั้งครรภ์, ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอดจริง ๆ (พบได้ประมาณร้อยละ 35), ได้รับการผ่าตัดบริเวณช่องท้องในขณะการตั้งครรภ์ เช่น การผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ
Share:
social-media-iconsocial-media-iconsocial-media-icon

แพ็คเกจสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ โดยคลิก "การตั้งค่าคุกกี้" นโยบายความเป็นส่วนตัว