โรคหัด (Measles)

article-โรคหัด (Measles)

Friday 05 April 2024

5.00

โรคหัดเป็นโรคติดต่อสามารถระบาดในผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนและพบได้มากกับเด็กเล็ก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มีลักษณะเด่นคือ มีจุดเทาขาวในปาก และผื่นสีน้ำตาลแดงไล่จากหัวและคอลงมาที่ตัว มักจะหายไปเองภายใน 7 ถึง 10 วันโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มเติม แต่ในบางครั้งมีภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงเช่น ปอดบวมและไข้สมองอักเสบสามารถอันตรายถึงชีวิตได้

อาการของโรคหัด

โรคหัดจะเริ่มด้วยอาการคล้ายกับหวัด โดยเริ่มมีอาการประมาณ 10 วันหลังติดเชื้อมีดังนี้:

  1. อาการคล้ายหวัด เช่น คัดจมูก จาม และไอ

  2. ปวดตา ตาแดง น้ำตาไหล อาจไหวต่อแสงเพิ่มขึ้น

  3. มีไข้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส

  4. ปวดกล้ามเนื้อ

  5. ไม่อยากอาหาร

  6. เหน็ดเหนื่อย ระคายเคือง และหมดเรี่ยวแรง

  7. ต่อมน้ำเหลืองโต

  8. เกิดจุดสีเทาขาวภายในกระพุ้งแก้ม

ผื่นจากโรคหัด เกิดขึ้นจากโรคหัดจะเริ่มขึ้นประมาณสองถึงสี่วันหลังจากมีอาการแรกเริ่มและจะค่อย ๆ หายไปภายในหนึ่งอาทิตย์ หลังจากที่ผื่นปรากฏออกมาคุณมักจะรู้สึกไม่สบายมากในช่วงวันสองวันแรก หลังจากปรากฏผื่นหนึ่งหรือสองวัน ผู้ป่วยหลายรายจะมีจุดสีเทาขาวเกิดขึ้นในช่องปาก

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ควรพบแพทย์ทันทีที่คุณคาดว่าตนเองหรือลูกของคุณเป็นโรคหัด และควรแจ้งทางโรงพยาบาลว่าอาจเป็นโรคหัด เพื่อให้ทางโรงพยาบาลจัดเตรียมแนวทางป้องกันการแพร่เชื้อแก่ผู้อื่น

โรคหัดแพร่กระจายได้อย่างไร?

เชื้อไวรัสโรคหัดจะอยู่ในละอองสารคัดหลั่งจากจมูกและปากของผู้ติดเชื้อ คุณสามารถรับไวรัสเหล่านั้นได้จากการสูดอากาศที่มีละอองเหล่านี้เข้าไป หรือสัมผัสกับละอองบนพื้นผิวสิ่งของต่าง ๆ ก่อนนำมือเปื้อนเชื้อเข้าใกล้จมูกหรือปากของตนเอง ผู้ป่วยโรคหัดจะแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เมื่อเริ่มมีอาการไปจนถึงหลังจากเป็นผื่นขึ้นครั้งแรกสี่วัน

การรักษาโรคหัด

ยังไม่มีวิธีรักษาโรคหัด แต่สามารถหายได้เองภายใน 7 ถึง 10 วัน แพทย์มักจะแนะนำให้คุณพักรักษาตัวที่บ้านไปจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น โดยบรรเทาอาการและลดความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อได้ ดังนี้:

  1. ทานยาพาราเซตตามอลหรืออิบูโพรเฟนเพื่อลดไข้และอาการปวดกล้ามเนื้อ

  2. ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

  3. ปิดม่านเพื่อลดภาวะอ่อนไหวต่อแสงอาทิตย์

  4. ใช้ผ้าขนนุ่มชื้น ๆ ทำความสะอาดรอบตา

  5. ลาเรียนหรือลางานเป็นเวลาอย่างน้อยสี่วันหลังจากที่เริ่มมีผื่นขึ้น

  6. ในกรณีที่ป่วยรุนแรง โดยเฉพาะที่มีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วยต้องพาผู้ป่วยไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลทันที

ใครมีความเสี่ยงที่สุด?

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัดมักจะเกิดขึ้นมากกับผู้คนดังต่อไปนี้:

  • เด็กทารกที่อายุต่ำกว่า 12 เดือน
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ อย่างเช่น ผู้ป่วยลิวคีเมีย ผู้กำลังเข้ารับการบำบัดเคมี
    หรือกำลังใช้ยาบางตัวอยู่
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์

ภาวะแทรกซ้อนของหัดที่พบได้บ่อยมีดังนี้:

  1. ท้องร่วงและอาเจียนจนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ

  2. การติดเชื้อของหูชั้นกลางจนทำให้เกิดอาการปวดหู

  3. เยื่อบุตาอักเสบ

  4. การอักเสบของกล่องเสียง

  5. ปอดบวมและโรคครูป ซึ่งเป็นการติดเชื้อของหลอดลมและปอด

  6. ชักจากไข้

เด็กที่ป่วยเป็นโรคหัดประมาณ 1 จากทุก ๆ 15 คนจะมีภาวะแทรกซ้อนข้างต้น เราสามารถเลี่ยงการป่วยเป็นโรคหัดได้จากการรับวัคซีนโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน (MMR - Measles, Mum)

Share:
social-media-iconsocial-media-iconsocial-media-icon

Better health

Related services

บทความที่เกี่ยวข้อง

This website uses cookies

We use cookies to enhance efficiency and provide a good experience on our website. You can manage your cookie preferences by clicking "Cookie Settings" in the privacy policy