โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรคมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 3 ของคนไทย โดยมากพบในอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
อาการที่พบบ่อย คือ ขับถ่ายผิดปกติ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ถ่ายมีมูกเลือด ท้องผูก ปวดเบ่งถ่ายตลอดเวลา อุจจาระลำเล็กลง ถ่ายท้องผูกสลับท้องเสีย ซึ่งจะเป็นอาการแสดงเมื่อมะเร็งเป็นมากแล้ว
ดังนั้น การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (การตรวจคัดกรอง คือการตรวจตั้งแต่ผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ) หรือการมาพบแพทย์ทันทีตั้งแต่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มแรกเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะสำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว ถ้ารู้เร็ว รักษาเร็วและถูกวิธีก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น
โดยแต่ละระยะมีอัตรการหายขาดจากโรคที่แตกต่างกันไป ดังนี้
• มะเร็งระยะที่ 1 – เป็นระยะที่ยังไม่มีการลุกลาม อัตราการหายขาดสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด
• มะเร็งระยะที่ 2 – เป็นระยะที่เริ่มลุกลาม เซลล์มะเร็งจะเข้ามาในชั้นกล้ามเนื้อของลำไส้ และอาจลามไปถึงเยื่อหุ้มลำไส้ เนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ หรือ อวัยวะข้างเคียง
• มะเร็งระยะที่ 3 – เป็นระยะที่เริ่มลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง ต้องผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองออกให้มากที่สุด และทำเคมีบำบัดเพื่อไม่ให้มะเร็งฟื้นตัวและกลับมาลุกลาม
• มะเร็งระยะที่ 4 – เป็นระยะที่ค่อนข้างรุนแรง มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ การรักษาต้องทำการผ่าตัดเพื่อตัดอวัยวะบางส่วนที่เป็นมะเร็งออก และทำเคมีบำบัดร่วมด้วย
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง จะใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน เช่น การผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด และการฉายแสง
การรักษาโดยการผ่าตัด มีวิธีดังนี้
1. การผ่าตัดโดยการส่องกล้องทางลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) : เพื่อตัดก้อนเนื้อ สามารถใช้วิธีนี้ได้ในกรณี ก้อนเนื้อไม่ใหญ่หรือเป็นมะเร็งระยะเริ่ม
2. การผ่าเปิดช่องท้อง : ป็นการผ่าตัดที่จะมีแผลหน้าท้อง10-15เซนติเมตร เพื่อทำการผ่าตัดลำไส้ที่เป็นมะเร็วและต่อมน้ำเหลือง
3. การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic colectomy) : เป็นการผ่าตัดโดยมีแผล 0.5-1 เซนติเมตร เพื่อใส่กล้องและอุปกรณ์เพื่อผ่าตัดลำไส้ที่เป็นมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองโดยรอบ โดยการผ่าวิธีนี้จะมีแผลเล็ก อาการปวดแผลน้อย และใช้ระยะเวลาฟื้นฟูหลังผ่าตัดรวดเร็ว