การอุดฟันคืออะไร ทำไมต้องอุดฟัน?

article-การอุดฟันคืออะไร ทำไมต้องอุดฟัน?

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2567

ทพญ.วาศินี ลำใย

5.00

ทำไมต้องอุดฟัน?

ปัจจุบันนี้ ผู้คนมากมายมีปัญหาเกี่ยวกับฟันผุแล้วไม่ได้รักษาจนเกิดความเจ็บป่วยหรือสูญเสียฟันก่อนวัยอันสมควร ดังนั้นเมื่อเกิดฟันผุขึ้นมาแล้วการรักษาที่ป้องกันฟันผุเพิ่ม อย่างเช่น “การอุดฟัน”ก็ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นเช่นกัน แต่เหนือสิ่งอื่นใด เมื่อทำการรักษาแล้วก็ต้องใส่ใจดูแลช่องปากให้ถูกวิธีร่วมด้วยจึงจะเป็นการป้องกันที่ยั่งยืน ทำให้เรามีสุขภาพช่องปากและฟันที่แข็งแรงต่อไปในอนาคตได้ เมื่อพบฟันผุขนาดเล็ก ยังไม่มีอาการปวด ให้รีบมาอุดฟัน หากปล่อยไว้จนผุ ใหญ่จนทะลุโพรงประสาทฟัน จนเสียวหรือปวดฟันอาจอุดไม่ได้ แล้วต้องถอนหรือรักษารากฟัน ซึ่งค่าใช้จ่ายหลักหมื่น

การอุดฟัน คือการใช้วัสดุอุดรูหรือโพรงที่เกิดจากฟันผุ เพื่อปิดช่องทางไม่ให้แบคทีเรียหรือเศษอาหารตกเข้าไปจนเกิดความเสียหายแก่เนื้อฟันเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

วัสดุที่นำมาใช้อุดฟัน ได้แก่

  • อมัลกัม (Amalgam) เป็นวัสดุที่นิยมนำใช้มากที่สุดและใช้ง่ายที่สุด เพราะรวดเร็วและราคาไม่แพง (เป็นการผสมกันระหว่างปรอท เงิน ดีบุกหรือโลหะอื่นๆ) อยู่ได้ประมาณ 10-15 ปี ทนทานแต่จะไม่ถูกเลือกใช้กับบริเวณฟันหน้า

  • คอมโพสิตเรซิ่น (Composite Resin) เป็นวัสดุที่มีสีเหมือนสีฟัน เหมาะกับผู้ที่ฟันผุบริเวณฟันหน้า ให้ความสวยงามและแข็งแรงทนทาน

  • กลาสไอโอโนเมอร์ (Glass Ionomer) มักใช้อุดฟันเด็กเล็กหรือผู้มีความเสี่ยงต่อฟันผุสูง เพราะสามารถปล่อยฟลูออไรด์ได้

การเตรียมตัวก่อนอุดฟัน

  • อันดับแรกคือการตรวจสุขภาพเหงือกและฟันก่อน ซึ่งฟันซี่ที่จะอุดได้ต้องเป็นฟันผุที่ไม่ลามไปจนถึงโพรงประสาทฟันและต้องมีเนื้อฟันเหลือพอให้วัสดุที่ใช้อุดฟันยึดเกาะได้

  • หากมีโรคประจำตัวและกำลังรับประทานยาประจำอยู่ ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่และทันตแพทย์ทราบด้วย

  • หากมีฟันปลอมแบบถอดได้หรือรีเทนเนอร์ ต้องนำมาด้วย

การดูแลตัวเองหลังอุดฟัน

  • ใช้แปรงสีฟันขนอ่อนนุ่มและแปรงฟันให้ถูกวิธี

  • ใช้น้ำยาบ้วนปากต่อต้านแบคทีเรียอย่างน้อยวันละครั้งภายใต้คำแนะนำของทันตแพทย์

  • ฟันที่ผ่านการอุด ไม่ว่าด้วยวัสดุอะไร ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งเกินปติ เช่น ก้อนน้ำแข็งถั่วตัด กระดูกอ่อน เพราะอาจทำให้วัสดุแตกหรือหลุดได้

“การอุดฟัน ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากและน่ากลัวกว่าที่คิด แต่หากฟันผุแล้วละเลย ไม่ทำการรักษา ในอนาคตอาจจะสูญเสียฟันไปเลยก็ได้”

Share:
social-media-iconsocial-media-iconsocial-media-icon

แพ็คเกจสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ โดยคลิก "การตั้งค่าคุกกี้" นโยบายความเป็นส่วนตัว