ตรวจสายตาอาชีวอนามัย
สมรรถภาพการมองเห็น
เป็นการตรวจคัดกรองสมรรถภาพการมองเห็น (Vision screening) ไม่ใช่การตรวจในระดับการวินิจฉัยยืนยัน (Diagnostic test) ซึ่งเป็นการตรวจสมรรถภาพการมองเห็นโดยละเอียด (Comprehensive eye examination) การตรวจในระดับการคัดกรองความผิดปกตินั้น จัดว่าเป็นการตรวจที่มีความปลอดภัยสูง จึงไม่มีข้อห้าม (Contraindication) ในการตรวจ และไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน (Complication) จากการตรวจ
จุดประสงค์ของการตรวจสมรรถภาพการมองเห็น
เป็นการตรวจเพื่อประเมินความสามารถของการมองเห็นในด้านต่างๆ ของคนทํางาน เช่น ความชัดเจนในการมองภาพ ลานสายตา หรือความสามารถในการจําแนกสีซึ่งความผิดปกติ ของความสามารถของการมองเห็นด้านต่างๆ เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทํางานของคนทํางานนั้น รวมไปถึงความปลอดภัยต่อตัวคนทํางานผู้นั้นเองหรือเพื่อนร่วมงานด้วย
การเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการตรวจสมรรถภาพการมองเห็น
คนทํางานที่มีแว่นสายตา (Glasses) นําแว่นสายตาที่ใช้มาใส่ในการตรวจด้วย หากมีแว่นสายตาสองอัน (คืออันหนึ่งไว้สําหรับมองภาพระยะไกล อีกอันหนึ่งไว้สําหรับมองภาพระยะใกล้) ก็ให้นําแว่นสายตาที่มีทั้ง 2 อันนั้นมาใส่ในการตรวจ หากใส่คอนแทคเลนส์ (Contact lens) ในระหว่างการทํางาน ก็ให้ใส่คอนแทคเลนส์มาทําการตรวจเหมือนเวลาทํางานปกติ
เครื่องตรวจสายตาอาชีวอนามัย (Vision screener หรือ Vision tester)
เป็นเครื่องมือตรวจคัดกรองสุขภาพพนักงานอย่างหนึ่ง ข้อดีของเครื่องตรวจนี้คือมีขนาดเล็ก พกพาง่าย สามารถตรวจความผิดปกติของสายตาได้หลายอย่าง ได้แก่
-
การมองภาพระยะไกลผิดปกติ (Far vision)
-
การมองภาพระยะใกล้ผิดปกติ (Near vision)
-
การมองภาพ 3 มิติผิดปกติ (Stereopsis)
-
การมองภาพสีผิดปกติ (Color vision)
-
ความสมดุลกล้ามเนื้อตาผิดปกติ (Phoria)
-
ลานสายตาผิดปกติ (Visual field)
เมื่อตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องตรวจสายตาอาชีวอนามัย แพทย์ผู้แปลผลจะส่งผู้เข้ารับการตรวจที่มีผลการตรวจผิดปกติไปพบผู้เชี่ยวชาญ
เช่น จักษุแพทย์เพื่อทําการตรวจยืนยันความผิดปกติและทําการแก้ไขหรือรักษา (หากภาวะความผิดปกตินั้นสามารถแก้ไขหรือรักษาได้) ต่อไป