สัญญาณไทรอยด์เป็นพิษ เป็นแล้วรักษาหายไหม ?

article-สัญญาณไทรอยด์เป็นพิษ เป็นแล้วรักษาหายไหม ?

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2567

5.00

สัญญาณไทรอยด์เป็นพิษ เป็นแล้วรักษาหายไหม ?

ไทรอยด์ คือ ต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่สุดของร่างกาย ซึ่งอยู่บริเวณส่วนหน้าของลำคอ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนและหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ไอโอดีนเป็นส่วนประกอบหลักในการสร้างฮอร์โมน แต่หากร่างกายได้รับปริมาณไอโอดีนมากหรือน้อยเกินไป ก็อาจส่งผลให้การทำงานผิดปกติต่ออวัยวะแทบทุกระบบในร่างกาย

ไทรอยด์ต่ำ ไทรอยด์สูง อย่ามองข้าม!

เรามักได้ยินชื่อของไทรอยด์ต่ำ ไทรอยด์สูงกันอยู่บ่อยๆ แต่สำหรับใครที่ยังแยกไม่ออกว่าทั้ง 2 แบบนี้ต่างกันยังไง เราขออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้

  • ไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism) หรือภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นภาวะที่พบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มีสาเหตุมาจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่ผิดปกติ การผ่าตัด โรคเนื้องอก และโรคที่ส่งผลกระทบต่อส่วนของไฮโปธาลามัส 
  • ไทรอยด์สูง หรือไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) เกิดจากการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์สูงขึ้นอย่างผิดปกติ ทำให้ในเลือดมีปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์สูงขึ้น กระทบต่อการทำงานของระบบเผาผลาญให้สูงขึ้น

เช็กลิสต์สัญญาณอาการไทรอยด์ผิดปกติ

  • ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก
  • เหนื่อยง่าย
  • ใจสั่น มือสั่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ถ่ายอุจจาระบ่อย (วันละ 2-3 ครั้ง)
  • น้ำหนักลดลง (โดยไม่ทราบสาเหตุ)
  • ผมร่วง
  • ในผู้หญิงประจำเดือนอาจมาไม่ปกติ (มาน้อย) 

และในบางรายอาจมีอาการตาโปน รวมถึงต่อมไทรอยด์บริเวณลำคอโต
หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่มีอาการข้างต้น แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด และวางแผนการรักษาอย่างรวดเร็ว

ไทรอยด์เป็นพิษ รักษาหายขาดไหม ?

การรักษาอาการไทรอยด์เป็นพิษในปัจจุบัน สามารถทำได้ด้วยกันหลายวิธี โดยจะขึ้นอยู่กับลักษณะอาการและความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น

  • กินยาต้านไทรอยด์ 
  • กินสารกัมมันตรังสีไอโอดีน
  • การรักษาด้วยสารรังสี เช่น การดื่มน้ำที่มีสารไอโอดีน
  • การผ่าตัดรักษาไทรอยด์เป็นพิษ

โดยแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและเลือกใช้วิธีรักษาอาการไทรอยด์เป็นพิษที่เหมาะสม เพื่อลดผลข้างเคียงจากการรักษาให้มากที่สุด
นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอื่นๆ ตามคำแนะนำของแพทย์ร่วมด้วย สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำอาจจะต้องสอบถามแพทย์ว่าสามารถออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง หรือควรรักษาอาการไทรอยด์เป็นพิษก่อนแล้วจึงกลับมาออกกำลังกาย เป็นต้น

Share:
social-media-iconsocial-media-iconsocial-media-icon

แพ็คเกจสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ โดยคลิก "การตั้งค่าคุกกี้" นโยบายความเป็นส่วนตัว