รู้จักมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา พร้อมแนวทางป้องกันและรักษาล่าสุด

article-รู้จักมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา พร้อมแนวทางป้องกันและรักษาล่าสุด

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2567

นพ.วิทวัส จันทร์ดำเนินพงศ์

5.00

เชื่อว่าหลายคนอาจจะคุ้นเคยกับสถิติโรคมะเร็ง ทั้งมะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ และมะเร็งปากมดลูกที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากในทุกๆ ปี แต่ยังมี ‘มะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา’ หนึ่งในชนิดมะเร็งที่ยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ วันนี้เราจะพาไปรู้จักโรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา หรือมะเร็งไขกระดูก พร้อมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์สูงสุดในบทความนี้!

มะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา คืออะไร 

โรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา (Multiple Myeloma) คือชนิดมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติในไขกระดูกที่มีการสร้าง M Protein – Monoclonal Protein มากจนเกินไป ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำให้เกิดภาวะต่างๆ ในไขกระดูกต่อไปได้ ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันและจำนวน Plasma (เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด) ซึ่งเกิดขึ้นจากการทำงานของไขกระดูก

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา 

แม้ในปัจจุบันจะยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา แต่เราสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งไขกระดูกได้เหมือนมะเร็งชนิดอื่นๆ ด้วยการตรวจเช็กเลือด ดังนี้

  1. ตรวจนับเม็ดเลือดและค่าทางชีวเคมี เพื่อประเมินภาวะซีด ไตวาย แคลเซียมในเลือดสูง ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา
  2. ตรวจเลือดเพื่อดูระดับของโปรตีนที่เซลล์มะเร็งพลาสมาเซลล์สร้างออกมา
  3. ตรวจไขกระดูก เพื่อประเมินการกระจายของเซลล์มะเร็งมัยอีโลมา
  4. ตรวจทางรังสีวินิจฉัย เพื่อประเมินและค้นหาก้อนมะเร็งในตำแหน่งอื่นในร่างกาย

แนวทางการรักษามะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา 

ในปัจจุบันการรักษาก้อนมะเร็งมัยอิโลมาสามารถรักษาได้ด้วยวิธีการฉายแสง การให้ยาเคมีบำบัด ยาพุ่งเป้า และการผ่าตัด โดยขึ้นอยู่กับการกระจายตัว ตำแหน่งของก้อนมะเร็ง และการตรวจพบมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมาร่วม โดยจำแนกแนวทางการรักษาออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

  • ตรวจพบก้อนมะเร็งมัยอิโลมาตำแหน่งเดียว โดยไม่พบอาการของมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมาร่วม การรักษาที่แนะนำ คือ การฉายแสงบริเวณก้อนมะเร็ง ส่วนการผ่าตัดในปัจจุบันยังไม่แนะนำ ยกเว้นในกรณีที่มีกระดูกสันหลังทรุดหรือแตกหักร่วมด้วย ซึ่งมีความจำเป็นต้องผ่าตัดเสริมความแข็งแรงของกระดูกในบริเวณนั้น
  • ตรวจพบก้อนมะเร็งมัยอิโลมาตั้งแต่ 2 ตำแหน่งขึ้นไป หรือตรวจพบมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมาร่วมด้วย การรักษาที่แนะนำคือ การใช้ยาพุ่งเป้าหรือยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายแสงบริเวณก้อนมะเร็ง

อย่างไรก็ตาม แนวทางการรักษาโรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา หรือมะเร็งไขกระดูก ยังขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ผู้ดูแลเป็นสำคัญ เนื่องจากแพทย์ยังต้องประเมินร่วมกับสุขภาพพื้นฐานของผู้ป่วย เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงหลังการรักษาร่วมด้วย ซึ่งหากผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อการรักษาที่ดีอาจวางแผนการปลูกถ่ายไขกระดูกจากเซลล์ต้นกำเนิดของตนเองต่อไป เพื่อลดโอกาสในการกลับเป็นซ้ำของโรคในอนาคตต่อไป

ติดต่อเพื่อพูดคุยกับเราเกี่ยวกับการรักษา 

หากท่านมีคำถามเพิ่มเติม หรือต้องการนัดหมายเข้ารับบริการ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทางด้านล่าง
โรงพยาบาลตั้งอยู่ที่ ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Location / Map : https://goo.gl/maps/BYoLiFXbrJaiz2gH7
FanPage : fb.com/CHGCancerCenter
0 2033 2900 ต่อ ศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
Line : @CHGCancerCenter Link : https://lin.ee/b0RJt7d

นายแพทย์วิทวัส จันทร์ดำเนินพงศ์

ขอขอบคุณบทความจาก
นายแพทย์วิทวัส จันทร์ดำเนินพงศ์
สาขา: อายุรศาสตร์โรคเลือด

Share:
social-media-iconsocial-media-iconsocial-media-icon

แพ็คเกจสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ โดยคลิก "การตั้งค่าคุกกี้" นโยบายความเป็นส่วนตัว