การตรวจแมมโมแกรม หรือ Mammogram คือ การถ่ายเอกซเรย์เต้านมทั้ง 2 ข้าง ผ่านคลื่นความถี่เข้าสู่ผิวหนังหรือเต้านม หากคลื่นไปกระทบกับเนื้อเยื่อ ก้อนเนื้อ หรือถุงน้ำผิดปกติบางอย่างก็จะสะท้อนกลับมาได้อย่างแม่นยำ และนี่ก็คือการตรวจ Mammogram ที่เราคุ้นเคยกันดีในกลุ่มโรคมะเร็งเต้านม
แมมโมแกรม ทำไมถึงสำคัญกับผู้หญิง ?
มะเร็งเต้านม (Breast cancer) หนึ่งในโรคที่หากได้ติดอยู่ในกลุ่มของ “โรคมะเร็ง” แล้ว ผู้ป่วยมักไม่มีอาการแสดงให้เห็นในระยะเริ่มต้น จนเมื่อโรคลุกลามไปถึงระยะที่ 3-4 จึงจะมีอาการสังเกตของโรคได้ การตรวจคัดกรองจึงเป็นวิธีช่วยป้องกันและลดเสี่ยงโรคได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งปัจจุบันมะเร็งเต้านมยังเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดของผู้หญิง และการตรวจแมมโมแกรมถือเป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่ามีประสิทธิภาพที่สุดในการตรวจพบหินปูนในเต้านม ซึ่งหินปูนบางชนิดพบในมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกที่ไม่สามารถตรวจเจอได้จากการตรวจร่างกายทั่วไป
FAQ ถาม-ตอบเกี่ยวกับการตรวจ Mammogram
1. Mammogram ตรวจยังไง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง ?
-
ปกติการตรวจ Mammogram จะกำหนดท่าตรวจอยู่ 2 ท่า คือ ถ่ายเต้านมด้านตรง (Craniocaudal view - CC) และแนวเอียง (MLO) โดยไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนตรวจ แต่ให้ถอดเครื่องประดับที่เป็นโลหะทุกชนิด และหลีกเลี่ยงการทาโลชั่น แป้งฝุ่น รวมถึงสเปรย์ระงับกลิ่นกายบริเวณเต้านม
2. ควรทำแมมโมแกรมบ่อยแค่ไหน ?
-
การตรวจ Mammogram จะแนะนำมากสำหรับผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35-40 ปีขึ้นไป ควรตรวจแมมโมแกรมอย่างน้อยปีละครั้ง สำหรับผู้หญิงที่ไม่มีอาการผิดปกติควรรับการตรวจทุก 1-2 ปี โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือ 7-14 วัน หลังมีประจำเดือน
3. กลุ่มใดบ้างที่เสี่ยงมะเร็งเต้านม ?
- ผู้หญิงที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม (มารดา, พี่สาว, น้องสาว, บุตรสาว) ผู้ที่เคยรับการฉายแสงเพื่อรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นที่บริเวณหน้าอก ผู้ที่รับยาฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอ ผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมแล้ว 1 ข้าง ผู้ที่ได้รับการเจาะตรวจชิ้นเนื้อพบภาวะที่เรียกว่า Atypical ductal hyperplasia
4. เสริมหน้าอกมีซิลิโคน ตรวจ Mammogram ได้หรือไม่ ?
-
สำหรับผู้ที่เสริมหน้าอกยังสามารถตรวจ Mammogram ได้ตามปกติ แต่ให้แจ้งกับแพทย์และนักรังสีก่อนเข้ารับการตรวจ
5. ผู้ชายตรวจมะเร็งเต้านมได้หรือไม่ ?
-
แม้จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย แต่ผู้ชายก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน และมีความรุนแรงของโรคไม่ต่างจากมะเร็งเต้านมในผู้หญิง ดังนั้น การทํา Mammogram จึงเป็นสิ่งที่ผู้ชายสามารถเข้ารับการตรวจได้ไม่ต่างจากผู้หญิง สำหรับมะเร็งเต้านมในผู้ชายจะมีอาการสังเกตได้จากผื่นคันบริเวณหัวนม หัวนมแดง และมีของเหลวไหลออกจากหัวนม หากมีอาการดังกล่าวในเบื้องต้น แนะนำให้เข้ารับการตรวจมะเร็งเต้านมได้ทันที
แม้มะเร็งเต้านมจะยังเป็นภัยเงียบ... แต่หากเราใส่ใจในการดูแลสุขภาพ หมั่นตรวจ Mammogram อย่างน้อยปีละครั้ง ก็สามารถป้องกันความเสี่ยงของโรคร้ายที่เป็นภัยเงียบนี้ได้เช่นกัน