ปวดหัวแบบไหนอันตราย ปวดมากแค่ไหนถึงควรหาหมอ ?

article-ปวดหัวแบบไหนอันตราย ปวดมากแค่ไหนถึงควรหาหมอ ?

Wednesday 24 April 2024

5.00

ปวดหัวแบบไหนอันตราย ต้องรีบไปพบแพทย์ ? แม้อาการปวดหัวจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป จากสภาพอากาศที่เย็นไป ร้อนไป การที่เรานอนน้อยเกินไปหรือความเครียดในแต่ละวัน แต่หากเรามีอาการปวดหัวรายวันอยู่เรื่อยๆ อาจไม่ใช่เรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้…

ปวดหัวแบบไหน บอกอะไรคุณได้บ้าง ?

อาการปวดหัว ถือเป็นปฎิกิริยาที่ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้าของคนมนุษย์เรา แม้เราจะรู้สึกเหมือนกันว่า ปวดหัวก็คือปวดหัว แต่ความจริงนั้นอาการปวดหัวยังมีอาการแสดงให้เห็นแตกต่าง รวมถึงตำแหน่งของอาการปวดหัแต่ละแบบยังบ่งบอกสาเหตุและโรคที่ไม่เหมือนกัน ดังนี้ 

  • ปวดหัวข้างเดียว ลามไปถึงกระบอกตา หรือมีอาการหน้ามืดร่วมด้วย โดยอาจมีสาเหตุมาจากปวดหัวไมเกรน หรือต้อหินเฉียบพลัน
  • ปวดหัวมากกว่า 1 ครั้งใน 1 อาทิตย์ และปวดต่อเนื่องเป็นเดือนๆ อาจมีสาเหตุเกี่ยวกับระบบประสาทในสมอง
  • ปวดหัว 2 ข้างพร้อมกัน มักเป็นการปวดแบบเป็นๆ หายๆ และอาจมีระยะเวลาการปวดนานเป็นวัน โดยมีสาเหตุหลักจากความเครียดสะสม
  • ปวดหัวรุนแรงแบบทนไม่ได้ พร้อมมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว อาจมีความเป็นไปได้หลายอย่าง เช่น มีเลือดออกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือมีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งในสมอง
  • ปวดหัวหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือมีอาการปวดหัวจนต้องสะดุ้งตื่น นอกจากจะมีสาเหตุมาจากความเครียดแล้ว อาจมีสาเหตุมาจากเนื้องอกในสมองด้วยได้
  • ปวดหัวร่วมกับมีอาการคอแข็ง อาจมีสาเหตุมาจากมีอาการติดเชื้อในระบบประสาท เช่น ติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง
  • ปวดหัวและมีอาการมึนงง โดยในบางคนอาจมีอาการสับสน พูดไม่รู้เรื่อง ไปจนถึงดูไม่ค่อยมีสติร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณผิดปกติของระบบประสาทสมองส่วนกลางที่ถูกกดทับ โดยอาจเกิดจากภาวะความเครียด ภาวะขาดสารอาหารและโรคบางอย่าง

ปวดหัวแบบไหนอันตราย ควรรีบพบแพทย์ ?

ทราบกันแล้วว่าปวดหัวแบบไหนบอกอะไร แล้วปวดหัวแบบไหนถึงควรรีบพบแพทย์ คำตอบคือ

✓ เมื่ออาการปวดหัวรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
✓ เมื่อมีอาการปวดหัวรุนแรงเฉียบพลัน ทั้งที่ไม่เคยปวดหัวมาก่อน
✓ เมื่อรู้สึกปวดจนทนไม่ได้ หรือไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้

เหล่านี้ คืออาการปวดหัวที่ควรเข้ารับการตรวจเช็กเพื่อวิเคราะห์อาการอย่างละเอียดในทันที เพราะอาการปวดหัวเหล่านี้อาจนำไปสู่อันตรายถึงชีวิตได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมองอักเสบ
อาการเลือดคั่งในสมองจากอุบัติเหตุที่มักไม่ค่อยแสดงอาการปวดหัวในทันที ไปจนถึงปัญหาในระบบประสาทและสมองเฉียบพลัน
หากมีอาการปวดหัวอย่างต่อเนื่อง อย่าปล่อยทิ้งไว้นาน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงและได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

 

Share:
social-media-iconsocial-media-iconsocial-media-icon

Better health

Related services

บทความที่เกี่ยวข้อง

This website uses cookies

We use cookies to enhance efficiency and provide a good experience on our website. You can manage your cookie preferences by clicking "Cookie Settings" in the privacy policy