กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อผังผืดมัยโอฟาสเชียล (Myofascial Pain Syndrome)

article-กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อผังผืดมัยโอฟาสเชียล (Myofascial Pain Syndrome)

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม 2567

5.00

กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อผังผืดมัยโอฟาสเชียล  Myofascial Pain Syndrome (MPS) เป็นสาเหตุของปัญหาการปวดเรื้อรังที่พบบ่อยอันดับต้นๆ และมักเกิดร่วมกับภาวะอื่นได้   พบได้ถึง 20 – 30 % ในคลินิกเวชปฏิบัติทั่วไป

อาการเดิมคือ

  1. ปวดร้าวเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย  ความรุนแรงมีตั้งแต่ปวดน้อยถึงปวดรุนแรงทรมาน   สาเหตุการปวดเนื่องจากมี Myofascial Trigger Point (TrP) (จุดกดเจ็บ)
  2. มีอาการของระบบประสาทอัตโนมัติร่วมด้วย เช่น วูบ เย็น เหน็บหนา หรืออาการแสดง เช่น ซีด ขนลุก เหงื่อออกตามบริเวณที่มีอาการปวดร้าว  ถ้าเป็นบริเวณคอ อาจมีอาการมึนงง  หูอื้อ  ตาพร่าได้

ถ้าแพทย์ตรวจร่างกายจะพบ

  1. จุดกดเจ็บ ซึ่งมีอาการปวดมากกว่าบริเวณใกล้เคียง
  2. เมื่อกดแล้วอาจมีอาการแสดงออกให้เห็นชัดเจน เช่น ความปวด  ชา
  3. จุดเหล่านี้มักมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร  แต่สามารถรวมกันเป็นกลุ่มได้   จะเกิดเป็นแถบตึง (Tautband) หรือก้อน (Nodule) ได้

กลไกการเกิดแท้จริงไม่ชัดเจน  แต่อธิบายคร่าวๆได้ ดังนี้

  • มีภาวะที่กล้ามเนื้อทำงานเกินกำลัง  จนถึงจุดที่ล้าและบกพร่อง
  • กล้ามเนื้อจะมีอาการหดตัวเป็นลำ หรือเป็นก้อนเล็กๆ และทำให้มีพิสัยการเคลื่อนไหวน้อยลง
  • นอกจากนี้ยังพบว่ามีการคั่งค้างของเสีย (Wash Product) ที่ก่ออาการปวดหลายชนิด

MFS มีได้ทั้งแบบเฉียบพลัน (Acute) และแบบเรื้อรัง (Chronic) Forms กรณีที่เรียกว่าเรื้อรัง คือ มีอาการปวดต่อเนื่องซ้ำ อย่างสม่ำเสมอมากกว่า 3 เดือน

  1. ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการแบบเฉียบพลัน  มักมีประวัตินำมาก่อน เช่น ยกของผิดท่า  เส้นพลิก  ข้อเท้าพลิก
  2. ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการแบบเรื้อรัง  แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
         2.1.
    ท่าทางการนั่งที่ผิดวิธี  การใช้กล้ามเนื้อมัดหรือกลุ่มนั้นๆซ้ำ เช่น ต้องใช้มือหมุนเครื่องจักร  เขียนหนังสือ นั่งพิมพ์งาน
         2.2.
    ภาวะวิตกกังวล  เครียด  ท้อแท้  ซึมเศร้า
         2.3.
    ขาดวิตามินบางอย่าง เช่น Vitamin B1, 6, 12, Folic acid, Vitamin C  อาการที่พบบ่อยคือ เพลีย และชา

การรักษา

  1. ยืดกล้ามเนื้อ
  2. การนวดกดจุด
  3. ประคบร้อน
  4. ฝั่งเข็ม
  5. ฉีดยาชา
  6. ทานยา (ยาลดปวด, แก้อักเสบ(N-said), ยาคลายกล้ามเนื้อ)
  7. แก้ไขท่าทางการทำงาน
Share:
social-media-iconsocial-media-iconsocial-media-icon

แพ็คเกจสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ โดยคลิก "การตั้งค่าคุกกี้" นโยบายความเป็นส่วนตัว