พังผืดใต้ลิ้น ทำให้ลูกดูดนมใม่ได้ พูดไม่ชัด ตัดหรือไม่ตัดดี ?
พังผืดใต้ลิ้นลูกคืออะไร
พังผืดใต้ลิ้น คือ เนื้อเยื่อบางๆ บริเวณโคนลิ้นที่ เกิดขั้นในทารกทุกคน ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ทารกบางรายอาจมีพังผืดมากกว่าปกติ ยาวมาถึงบริเวณปลายลิ้น ทำให้เกิดปัญหาในการขยับปลายลิ้นหรือการเคลื่อนไหวของลิ้นไม่ได้ โดยเฉพาะการกินนมแม่ จะทำให้ทารกไม่สามารถดูดนมได้ถึงลานนม เพราะการดูดนมแม่ต้องใช้ลิ้นแลบออกมาก และรีดน้ำนมจากบริเวณลานนมเข้าปาก ในเด็กบางรายที่มีพังผืดใต้ลิ้นจะใช้เหงือกในการช่วยดูดนม ทำให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บหัวนมตามมาได้
สังเกตุ อาการแสดง..อาจบอกถึงปัญหาพังผืดใต้ลิ้น
- ทารกจับหัวนมไม่ค่อยได้ หรือ ดูดแล้วหลุดบ่อย
- ทารกดูดนมเบา ดูดบ่อย มีอาการหงุดหงิด
- ทารกแลบลิ้นออกมาได้น้อย
- เวลาร้องหรือแลบลิ้น หลังลิ้นหยักเข้ามาเป็นรูปหัวใจ
“พังผืดใต้ลิ้น” จำเป็นต้องรักษาหรือไม่?
หากมีพังผืดติดมากกว่าปกติ แล้วไม่เอาออกจะส่งผลกระทบต่อการพูดของเด็ก เนื่องจากลิ้นเป็นอวัยวะสำคัญในการควบคุมการพูดโดยเฉพาะ ปลายลิ้นที่ต้องช่วยในการออกเสียงควบกล้ำ หากมีพังผืดยึดบริเวณปลายลิ้นอาจพูดไม่ได้ พูดช้า นอกจากนี้ อาจส่งผลถึงสุขภาพปากและฟันของเด็กอีกด้วย
แนวทางการรักษา
การรักษาภาวะพังผืดใต้ลิ้น จะใช้การผ่าตัด โดยในทารกต่ำกว่า 4 เดือนหรือฟันยังไม่ขึ้นนั้นสามารถใช้ยาชาเฉพาะที่ได้ ทารกไม่จำเป็นต้องงดนมก่อนผ่าตัด ใช้เวลาในการผ่า 5-10 นาที หลังผ่าตัดสามารถดูดนมแม่ ได้ทันทีและสามารถกลับบ้านได้ แผลหลังผ่าตัดไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาโดยเฉพาะ แผลสามารถหายเองได้ใน 1-2 สัปดาห์ และพบภาวะติดเชื้อที่แผลน้อยมาก
**คุณพ่อ คุณแม่ ควรหมั่นสังเกตุอาการผิดปกติต่างๆ หากสังเกตุว่า ลูกมีผังผืดใต้ลิ้น ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น**