8 เทคนิคในการสร้างความฉลาดให้กับลูกน้อย
เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เป็นเด็กฉลาด?
พ่อแม่ทุกคนย่อมคาดหวังให้ลูกเป็นเด็กฉลาด แต่ก็คงไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นอย่างง่ายๆ พ่อแม่ต้องทุ่มเท ทั้งแรงกายแรงใจอย่างมากมาย และมาสร้างความกดดันและก่อให้เกิดความเครียดแก่เด็กๆ เรามาทำความเข้าใจ กระบวนการทางความคิดในส่วน “สมองส่วนหน้า” กันก่อนดีกว่าค่ะ
Executive Functions (EF) คือ ทักษะการคิดเชิงบริหาร เป็นการทำงานของสมองส่วนหน้า เพื่อควบคุมความคิด การกระทำ การแก้ไขปัญหา การบริหารจัดการสิ่งต่างๆ ในชีวิต โดยเฉพาะในงานที่มีความยากและใช้ระยะเวลานาน เช่นการเรียน ทักษะนี้ไม่ได้ติดตัวมาแต่กำเนิดเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง โดยเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ โดยในช่วง 0-6 ปี เป็นช่วงสำคัญที่สุดในการพัฒนา EF เหล่านี้ ในช่วงวัย 0-6 ปีของเด็ก จะเป็นช่วงที่ดีในการพัฒนาทักษะ EF เพราะในช่วงนี้สมองจะมีสร้างเส้นใยของเซลล์ประสาทอย่างรวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่จึงมีบทบาทสำคัญมากในการช่วงส่งเสริมทักษะ EF ในช่วงนี้
8 เทคนิคในการสร้างความฉลาด และการฝึกทักษะ EF ให้กับลูกน้อย
- พ่อแม่ต้องมีอยู่จริงและสม่ำเสมอ โดยพยายามสร้างเวลาคุณภาพอยู่กับลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ
- เลี้ยงลูกด้วยนิทาน ทุกครั้งที่พ่อแม่อ่านนิทานให้ลูกน้อยฟัง นั่นคือ การกระตุ้นการทำงานของสมองสร้างเส้นใยของเซลล์ประสาท
- ชวนลูกคุย หมั่นตั้งคำถาม ปลายเปิดกับลูกน้อย และไม่จำเป็นต้องให้ภาษาเด็กในการคุยกับลูก เพื่อเป็นการสร้างคลังคำศัพท์ที่ถูกต้อง
- การออกกำลังกาย และการเล่นใช้ทักษะกล้ามเนื้อ เป็นการกระตุ้นพัฒนาการทางสมองที่สำคัญในเด็กปฐมวัย
- ให้ลูกได้มีประสบการณ์ที่หลากหลาย ได้เห็น ได้ฟัง ได้ชิมรส การเรียนรู้ที่ไม่มีขีดจำกัด ปล่อยให้ลองทำ ลองผิดลองถูก ฝึกการตัดสินใจ คิดวิเคราะห์และปรับตัวกับปัญหา
- โภชนาการ “อาหารสมอง” สารอาหารที่สำคัญและจำเป็นกับสมองโดยเฉพาะ Folate, Iron, Iodine, Zinc, Omega
- กำหนดกติกาชัดเจน อย่างใจเย็น “อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ในชีวิต” เราต้องตั้งกติกาเพื่อให้ลูกมีวินัย และฝึกการกำกับตนเองจากภายใน
- งดการดูสื่อจอก่อนอายุ 3 ขวบ เนื่องจากจะมีผลยับยั้งการพัฒนาสมองส่วนหน้า ส่งผลทำให้มีปัญหาด้านสมาธิและมีปัญหาพฤติกรรมตามมาได้
9 ผลเสียที่จะเกิดเมื่อลูกขาด ทักษะ EF มีดังนี้
- ความจำไม่ดี เรียนรู้ยาก ทำผิดเรื่องเดิมๆซ้ำซาๆ
- หุนหันผลันแล่น ยับยั้งชั่งใจไม่ได้ ทำโดยไม่อดทนรอไม่ได้ และไม่นึกถึงคนอื่น
- รู้สึกเสียใจ หรือผิดหวังง่าย และมักจะหงุดหงิดมีอารมณ์เกรียวกราด แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ และใช้เวลานานกว่าจะกลับสู่อารมณ์ปกติ
- มีปัญหากับการทำกิจวัตรประจำวันบ่อยๆ เช่น ทำอะไรก็มักจะช้า ใช้เวลานอน ลืมว่าต้องทำอะไรบ้าง ลืมของสำคัญที่ใช้บ่อยๆ
- ขาดการวางแผน และการประเมินตนเอง คิดแก้ปัญหาหรือจัดการต่ออุปสรรคในการทำงานได้
- ไม่สามารถ ควบคุมให้มีสมาธิในห้องเรียนได้ ทำงานเสร็จช้าเพราะ ตัวเองไปสนใจอย่างอื่น หรือวอกแวกกับสื่งเร้าอื่นๆ
- มีปัญหาในการปรับตัวหรือใช้เวลาในการปรับตัว ต่อสถานการณ์ใหม่ๆ นานกว่า เด็กวัยเดียวกัน
- ไม่สามารถคิดนอกกรอบหรือเปลี่ยนวิธีคิด เมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนแปลง ยังยึดติดกับวิธีเดิมๆ ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- มักจะมีปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่สามารถควบคุมตนเองได้ จัดการกับอารมณ์ของตนเองไม่ได้
การฝึก EF ตั้งแต่เด็กมีความสำคัญมากกว่าการเรียนรู้ทางทางวิชาการ เนื่องจากวงจรสมองกระบวนการคิดทักษะ EF มีตั้งแต่ขวบปีแรก จะทำให้รู้จักการควบคุมอารมณ์ มีวินัยในตนเอง สิ่งเหล่านี้จะถูกย้ำทำให้คงอยู่และแข็งแรงขึ้น แต่หากไม่ได้ฝึกฝนหรือใช้ประจำ ทักษะ EF เหล่านี้จะค่อย ๆ อ่อนแอลงและหายไป EF เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สำคัญที่สุดใช้ได้ทุกวัย ฉะนั้นการฝึกเด็กให้มี ทักษะ EF ตั้งแต่ก่อนปฐมวัย หรือช่วงอายุ 2 - 6 ขวบ เพื่อรักษาวงจรสมองกระบวนการคิดทักษะ EF ให้คงอยู่ไปชั่วชีวิตนั่นเอง... ทักษะ EF ช่วยให้ลูกเอาตัวรอดได้ทุกสถานการณ์ ติดถ้ำก็ได้ใช้นะคะ