ข่าวสารและกิจกรรม

CHG ยกระดับศัลยแพทย์ไทย ผ่านเวิร์กช็อป K-wire รุ่นที่ 3 ผ่าง่าย ได้ผลดี ลดภาวะแทรกซ้อน

CHG ยกระดับศัลยแพทย์ไทย ผ่านเวิร์กช็อป K-wire รุ่นที่ 3 ผ่าง่าย ได้ผลดี ลดภาวะแทรกซ้อน

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ในเครือ CHG จัดเวิร์กช็อป “The 3rd Masterclass in K-wire Fixation in Hand Surgery” ถ่ายทอดเทคนิคการผ่าตัดมือแบบ K-wire Fixation ให้กับแพทย์ไทยและต่างประเทศ ด้วยการฝึกจริง (hands-on lab) บนอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องผ่าตัดจริง

โดย นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ประธานบริหาร CHG กล่าวว่า "โรงพยาบาลยุคใหม่ ต้องเป็นสนามฝึกแพทย์ที่แข็งแรงทางวิชาการ ไม่ใช่แค่สถานที่รักษา"

ซึ่งภายในงานยังมีการอัปเดตเทคนิคสำคัญ เช่น
🔹 Intramedullary Pin Fixation
🔹 Locking/Blocking K-wire
🔹 Subchondral Wiring

นอกจากนั้น นพ.วิชิต ศิริทัตธำรง หัวหน้าศูนย์ศัลยกรรมมือ กล่าวเพิ่มเติมว่า "เทคนิค K-wire ที่ใช้อย่างถูกวิธี ช่วยให้ผ่าตัดง่าย เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว และลดต้นทุนการรักษา"

CHG ยังวางเป้าหมายผลักดันศูนย์ศัลยกรรมมือ จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ให้เป็นแหล่งฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางระดับนานาชาติ เพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษาศัลยกรรมมือในไทย

อ่านต่อ
รพ.จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ จัดบรรยายให้ความรู้ และ Workshop ให้กับแพทย์ผู้สนใจใน หัวข้อ The 2nd Masterclass in K-wire in Hand Surgery

รพ.จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ จัดบรรยายให้ความรู้ และ Workshop ให้กับแพทย์ผู้สนใจใน หัวข้อ The 2nd Masterclass in K-wire in Hand Surgery

ศูนย์ศัลยกรรมมือ (จุลศัลยกรรม) โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ จัดการบรรยายให้ความรู้ และ Workshop ให้กับแพทย์ผู้สนใจใน หัวข้อ The 2nd Masterclass in K-wire in Hand Surgery

กระดูกหักบริเวณมือ เป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติของศัลยแพทย์กระดูก การยึดกระดูกมีวิธีการต่างๆที่หลากหลาย การใช้K-wireในแบบดั้งเดิม  ซึ่งแม้จะมีใช้กันมานาน แต่ก็ต้องเข้าเฝือกร่วมด้วยทำให้ฟื้นตัวได้ช้าส่วนการใช้ Screw, Plate and Screw จนไปถึง Locked plate ที่มีราคาสูง วิธีเหล่านี้ต้องอาศัยการผ่าตัดแบบเปิด ทำให้มือและนิ้วเกิดความชอกช้ำ นำไปสู่ความล่าช้าในการฟื้นตัวและการใช้งาน

ทั้งนี้ ศูนย์ศัลยกรรมมือ (จุลศัลยกรรม) โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนาการยึดกระดูกด้วยวิธีที่ง่าย ได้ผลดี และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ มาโดยตลอดระยะเวลานับสิบปี

การใช้ K-wire ซึ่งเป็นอุปกรณ์ยึดกระดูกที่มีราคาตำ่ เป็นการทำให้ค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยจะต้องรับภาระลดลง ลดการซื้อ Plate และ Screw ที่มีราคาสูงจากต่างประเทศ อีกทั้งส่วนใหญ่ยังทำด้วยเทคนิคที่ไม่ต้องเปิดแผลผ่าตัด ทำให้การฟื้นตัวของการใช้งานของมือหลังการผ่าตัดกลับมาในระยะเวลาอันสั้น  

ทางศูนย์เห็นว่าเทคนิคนี้มีประโยชน์สำหรับแพทย์และผู้ป่วยโดยทั่วไป จึงได้จัดโครงการฝึกอบรบเชิงปฏิบัติการขึ้น ในวันที่ 15 - 16 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา

อ่านต่อ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ โดยคลิก "การตั้งค่าคุกกี้" นโยบายความเป็นส่วนตัว